วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual ramework)


                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2540 : 11)  กล่าวว่า   การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร

                เก่ง  ภูวนัย  (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 )  กล่าวว่า   กำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง

                 นงลักษณ์  วิรัชชัย (2538 : 22) แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่เพียงใด  ในรายงานการวิจัย  นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปของโมเดล หรือแผนแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย  กรอบความคิดในการวิจัยนี้  จะลดรูปมาจากกรอบความคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical  Framework) ในกรอบความคิดเชิงทฤษฏีจะรวมตัวแปรทุกตัวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวแปรตามที่นักวิจัยต้องการศึกษา แต่ในการวิจัยนักวิจัยอาจพิจารณาควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรบางตัว ทำให้อิทธิพลจากตัวแปรนั้นคงที่ หรือจำกัดขอบเขตการวิจัย ไม่ศึกษาตัวแปรทั้งหมดในกรอบความคิดเชิงทฤษฎี ตัวแปรที่เหลืออยู่ในกรอบความคิดในการวิจัย จึงอาจมีจำนวนน้อยกว่าตัวแปรในกรอบความคิดเชิงทฤษฎี

                สรุป
                กรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร   แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
              
              อ้างอิง
นงลักษณ์  วิรัชชัย. (2538). วารสารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด.  
รวีวรรณ  ชินะตระกูล. (2540)โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
เก่ง  ภูวนัย. (ออนไลน์). http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. สืบค้นเมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน ..2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น