วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


จักรกฤษณ์  สำราญใจ (2550 : 19) กล่าวว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (related literature) หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdf  กล่าวไว้ว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย หรือเกี่ยวข้องกับตัวแปรการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องไปศึกษาหรือทบทวนมาก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานการวิจัย เพื่อเป็นการบอกว่าผลการวิจัยที่คาดการณ์ไว้หรือเดาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือทำวิจัยนั้นมาจากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมาก่อนหน้านี้

สุชาติ   ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2550 : 45) ได้กล่าวว่าการเสนอผลของการทบทวนวรรณกรรมจะบอกให้ผู้ที่อ่านผลงานทราบว่าผู้ที่ทำการวิจัยทราบหรือไม่ว่าในเรื่องนี้ได้มีผู้ใดในอดีตถึงปัจจุบันทำกันมาบ้าง ได้มีการใช้แนวความคิดอะไร ได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอย่างไร และได้ข้อค้นพบอะไร และได้เสนอแนะอะไรไว้บ้างทั้งในด้านเนื้อหาสาระและระเบียบวิธี นอกจากนั้นการเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมให้ถูกต้องจะบอกถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้วิจัยว่ามีมากน้อยเพียงใด

สรุป
  การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้วิจัยทราบว่ามีปัญหาที่น่าสนใจอะไรบ้างในสาขาวิชาที่ตนจะทำวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษาแล้ว และปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัย สามารถจะหลีกเลี่ยงการวิจัยซ้ำซ้อน และมีความคิดริเริ่มแปลกใหม่ขึ้นมาจากความสำคัญข้อนี้หรือเกี่ยวข้องกับตัวแปรการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องไปศึกษาหรือทบทวนมาก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานการวิจัย เพื่อเป็นการบอกว่าผลการวิจัยที่คาดการณ์ไว้หรือเดาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือทำวิจัยนั้นมาจากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมา
 
               อ้างอิง
จักรกฤษณ์  สำราญใจ. (2550). การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง. เข้าถึงเมื่อวันที่  25  ธันวาคม  2555.

สุชาติ  ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา. 
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdfเข้าถึงเมื่อวันที่  25  ธันวาคม  2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น