วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

10. การให้คำนิยามเชิงปฎิบัติการที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Defenition)


             เก่ง  ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)  กล่าวว่า   ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิตตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ ,ความพึงพอใจความปวด เป็นต้น

             สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2538 : 346) กล่าวว่า  การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการที่จะใช้ในการวิจัย  เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตัวแปรบางตัวแปรที่ใช้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยอื่นอย่างไร การนิยามควรเป็นการนิยามเชิงทฤษฏีควบคู่กับการนิยามเชิงปฏิบัติการ

              http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0. กล่าวว่า  เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี

            สรุป
            การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการที่จะใช้ในการวิจัย  เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตัวแปรบางตัวแปรที่ใช้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยอื่นอย่างไร  เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน

            อ้างอิง
เก่ง  ภูวนัย. (ออนไลน์). http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. สืบค้นเมื่อวันที่  14 พฤศจิกายน  ..2555.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สารสาสน์.
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0. สืบค้นเมื่อวันที่  14  พฤศจิกายน  ..2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น