วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix)


                เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

                 Jipatar  (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวว่า ภาคผนวก (appendix) สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

               พรศรี ศรีอัษฎาพรและยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง
           
              สรุป       
               ภาคผนวกเป็นที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง และภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น 

               อ้างอิง
พรศรี ศรีอัษฎาพรและยุวดี วัฒนานนท์. (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัย.
Jipatar. [ออนไลน์]. http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน  พ.ศ.2555.

21. เอกสารอ้างอิง (References)


             พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 389) กล่าวว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น

             วัลลภ ลำพาย (2547 : 178) กล่าวว่า เอกสารอ้างอิงคือ ส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ

               Jipatar (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวว่า เอกสารอ้างอิง (references)หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

                สรุป 
                เอกสารอ้างอิง คือส่วนท้ายของงานวิจัย  เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้นโดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น


                อ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฎ
            พระนคร.
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัย
            เกษตรศาสตร์.
Jipatar. [ออนไลน์]. http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 
            พ.ศ.2555

20.งบประมาณ (Budget)


                ธวัชชัย วรพงศธร (2538 : 102) กล่าวว่า  การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด

                นิยม ปุราคำ (2517 : 77) กล่าวว่า  งบประมาณต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณหรือเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยต้องประมาณวงเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นหมวดหมู่

               ไพฑูรย์  สินลารัตน์ (2534 : 465) กล่าวว่า  โดยระบุรายการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย  เพื่อให้งานวิจัยบรรลุผลตามเป้าหมาย  สำหรับโครงร่างการวิจัย  ซึ่งเสนอเพื่อขอทุนสนับสนุนการวิจัย  จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้เป็นพิเศษ    โดยการศึกษาถึงลักษณะและรายละเอียดที่แหล่งทุนต้องกา
               
               สรุป
               งบประมาณ  คือ  การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณหรือเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยต้องประมาณวงเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นหมวดหมู่

อ้างอิง 
ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2534)การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.
                 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                 ธวัชชัย วรพงศธร. (2538). หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :
                                โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                  นิยม ปุราคำ. (2517). ทฤษฎีของการสำรวจสถิติจากตัวอย่างและการประยุกต์. กรุงเทพฯ ศ.ส. 
                                 การพิมพ์.

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)


ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
       1.   วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
       2.   กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1  ขั้นเตรียมการ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
3.   ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4.   การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ

 เฉลิมลาภ ทองอาจ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637) กล่าวว่า การบริหารการวิจัยจึงหมายถึง การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการผลิตหรือสร้างสรรค์การวิจัย  การวางแผนการวิจัย  การติดตามและควบคุมดูแลการวิจัยให้ดำเนินไปตามแผน  การเผยแพร่และใช้ผลงานวิจัย 

 เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

 สรุป
การ บริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้มีการผลิตหรือสร้างสรรค์การวิจัย  การวางแผนการวิจัย  การติดตามและควบคุมดูแลการวิจัยให้ดำเนินไปตามแผน  การเผยแพร่และใช้ผลงานวิจัย 

อ้างอิง
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหารพิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
            ธรรมศาสตร์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัยกรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับ
            ลิเคชั่น จำกัด.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. [ออนไลน์]. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637เข้าถึงเมื่อวัน
             ที่ 21พฤศจิกายน 2555.

18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


                         ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
        แนวทางการแก้ไข   
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

                        สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้           
              1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 -              19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1    เท่านั้น
               2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
               3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
               4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
                5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
        แนวทางการแก้ไข
                1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

                           สุวิมล ว่องวาณิช (2544 : 123) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
          แนวทางการแก้ไข 
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว
                
                 สรุป
                 อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย สามาถสรุปได้ ดังนี้  ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก  ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย  มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัยเป็้นต้น

                อ้างอิง
               ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
                          หอสมุดกลาง.
               สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์
                          ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.
               สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2538). หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.
                             กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์. 

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)


             ไพฑูรย์  สินลารัตน์ (2534 : 67) กล่าวว่า  ในส่วนนี้ ผู้เขียนโครงร่างการวิจัยควรเขียนระบุไปให้ชัดเจนว่า  การทำวิจัยที่กำลังจะทำนี้  จะให้ประโยชน์อะไรบ้าง  การเขียนระบุชี้ชัดให้เห็นถึงประโยชน์ของการนวิจัยนี้  จะเป็นเครื่องตัดสินว่า  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สมควรจะทำหรือไม่

รวีวรรณ  ชินะตระกูล. (2540 : 90). กล่าวว่า  การทำวิจัยแต่ละเรื่องต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้ว   จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร  ประโยชน์ของการวิจัยอาจใช้ได้หลายลักษณะ  เช่น  ใช้ในการปรับปรุงการเรียนสอน  หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ  เป็นต้น

เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547 : 125). กล่าวว่า  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น

สรุป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  คือ  การทำวิจัยแต่ละเรื่องต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร  จะเป็นเครื่องตัดสินว่า  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สมควรจะทำหรือไม่

ที่มา
ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2534)การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัยกรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล. (2540)วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
 เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
                  มหาวิทยาลัย.

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


          รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2540 : 44)  กล่าวว่า   การเขียนขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน  เพื่อให้งานวิจัยของตนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย  ควรกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ  รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย  กำหนดขอบเขตเรื่องที่ต้องการศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา

            เก่ง  ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าว่า  เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

            เทียนฉาย กีระนันทน์ (2547 : 32)  เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

            สรุป
                ขอบเขตการทำวิจัย  คือ  การเขียนขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน  ควรกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ  รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย  กำหนดขอบเขตเรื่องที่ต้องการศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา

             ที่มา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2540) .  วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
เก่ง  ภูวนัย. (ออนไลน์). http://blog.eduzones.com/jipatar/8592.  สืบค้นเมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน  ..2555.
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์    
                 มหาวิทยาลัย.

15. ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical considerations)


                 พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
                 1.การตั้งชื่อเรื่อง
                     - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
                     - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                     - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
                 2.การขอรับทุนสนับสนุน
                        - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
                        - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
                        - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
                        - การติดสินบนผู้พิจารณา
                        - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
                        - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
                        -  ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
                        - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
                        - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
                3.งบประมาณการวิจัย
                        - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
                        - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
                        - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
                4.การทำวิจัย
                        - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
                        - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
                        - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
                        - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
                        - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงาน   วิจัยไม่มีคุณภาพ
                        - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
                        - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
                        - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
                5.การเขียนรายงานการวิจัย
                        - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                        - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
                        - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
                        - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
                 6.การส่งผลงานวิจัย
                        - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
                        - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ

                 องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
                1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
                2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
                3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
                  
คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24) ได้กล่าวไว้ว่าปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
                1) การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศ การเหยียดผิว
                2) การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
                3) การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
                4) การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย เช่น การปลอมตัว การปกปิดวิธีวิจัย
                5) การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
                6) การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
                7) การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม

                สรุป 
               ปัญหาทางจริยธรรม
                1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล
                2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔ถูกต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์
                3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ
                4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่  

               อ้างอิง
คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (2545). สถิติและการวิจัย
               สังคมศาสตร์นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์
               สถาบันราชภัฏพระนคร.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
                สังคมศาสตร์กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.