วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))


                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2540 : 13) กล่าวว่า   การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา  ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน  ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหาที่จะศึกษา  ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน  อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา  และในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อตามลำดับของการวิจัย

                 พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2538 : 6) กล่าวว่า
1เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎี เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้เหตุผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบ ทำให้เข้าใจและมีความรู้ใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง
2.เพื่อแก้ไขปัญหา ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักมีปัญหาหรือเหตุขัดข้องขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจราจร เป็นต้น มนุษย์จึงต้องทำการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา
3. เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่

                เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (2535 : 22) กล่าวว่า  เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้

                สรุป
               การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา  ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน  ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหาที่จะศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นทิศทางของการดำเนินการวิจัยและทำให้เกิดความชัดเจนว่าในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ต้องการศึกษาอะไรในด้านใดบ้าง มีวัตถุประสงค์หลักหรือวัตถุประสงค์ย่อย ๆ อะไรบ้าง

                อ้างอิง
รวีวรรณ  ชินะตระกูล. (2540)โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์(2535)โครงร่างวิจัยกรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น