วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

6.สมมติฐาน (Hypothesis)


               ไพฑูรย์  สินลารัตน์ (2534 : 90) กล่าวว่า  โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้วิจัยตัดสินใจจะทำการวิจัยเรื่องใด  ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น  ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์  การสังเกต  ทฤษฎี  หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก  การทำนั้นการวิจัย  การทำวิจัยก็คือการศึกษาเพื่อดูว่า  สิ่งที่คาดหวังนั้น  จะเป็นจริงหรือไม่จริงตามความคาดหวัง 

               ไพศาล  วรคำ (2532 : 81) กล่าวว่า  คำตอบที่คาดคะเนไว้สำหรับปัญหาเชิงวิจัยอันหนึ่งอันใด  โดยที่ยังมิทันทดสอบว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่  แต่ก็มีเหตุผลบางประการที่ชวนให้คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

    ประดอง กรรณสูต (2529 : 3) กล่าวว่า สมมติฐานเป็นข้อเสนอเงื่อนไขหรือหลักการสมมติฐานที่อาจไม่เป็นจริงก็ได้ หน้าที่ของสมมติฐานก็คือ ช่วยชี้แนวทางในการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดซึ่งมีอยู่ในสมมติฐานอาจเป็นคำตอบของปัญหาที่มีอยู่แล้ว หรืออาจไม่เป็นก็ได้ ความคิดต่างๆที่สมมติฐานเสนอแนะไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อย่างไรก็ตามการวิจัยที่เริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่แน่นอน ย่อมช่วยผู้วิจัยในการวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดียิ่งขึ้น

                สรุป
    สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง  คำตอบที่คาดคะเนไว้สำหรับปัญหาเชิงวิจัยอันหนึ่งอันใด  โดยที่ยังมิทันทดสอบว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่  แต่ก็มีเหตุผลบางประการที่ชวนให้คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องโดยมีหลักการและทฤษฎีต่างๆรองรับ ซึ่งการคาดการณ์หรือการคาดคะเนของผู้วิจัยนี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ นอกจากนี้สมมติฐานยังช่วยจำกัดขอบเขตของการศึกษาวิจัยให้มีความเฉพาะเจาะจงและรัดกุมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

               ที่มา
ไพฑูรย์  สินลารัตน์(2534)การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์     
            มหาวิทยาลัย.
ไพศาล  วรคำ(2532)การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
ประดอง กรรณสูต. (2529). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ปทุมธานี : ศูนย์หนังสือดร.ศรีสง่า จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น